วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ข้อสอบม.5
เรื่อง ข้อมูลมีคุณค่า และการเก็บรวบรวมและสำรวจข้อมูล

1. ไฟล์นามสกุลใด ที่สามารถดาวน์โหลดได้ แต่นำข้อมูลไปใช้งานต่อได้ยาก
ก. dbf                             ข. xls                     ค. odp                ง.pdf

2. ซอฟแวร์คือ
ก. โปรแกรมชุดคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ข. อุปกรณ์เทคโนโลยี
ค. โปรแกรมแก้ปัญหาทุกอย่างของมนุษย์
ง. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนสมองกล

3. ผู้ก่อตั้งและผู้สร้าง Facebook.com คือใคร
ก. ฟาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก
ข .มาร์ค คาลเบิร์ก
ค. มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก
ง. มาร์ค คาลเกอร์เบิร์ก

4. ข้อใดคือระบบปฏิบัติการ
ก. Microsoft Windows7
ข. Microsoft Windows8
ค. Microsoft WindowsXP
ง. ถูกทุกข้อ

5. ข้อใดคือซอฟต์แวร์
ก. ครูสอนคอมพิวเตอร์
ข. โปรแกรม Microsoft PowerPoint
ค. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล
ง. พนักงานคอมพิวเตอร์

6. BIG DATA คืออะไร
ก. เป็นข้อมูลเฉพาะกลุ่ม
ข. เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลายประเภท
ค. เป็นข้อมูลที่มีการหลั่งไหลตลอดเวลา
ง. ถูกทั้ง ข และ ค

7. กระบวนการวิทยาการข้อมูลมีกี่ขั้นตอน
ก. 3 ขั้นตอน
ข. 4ขั้นตอน
ค. 5ขั้นตอน
ง. 6ขั้นตอน

8. ไอโอที (IOT) คืออะไร
ก. เป็นคุณลักษณะที่ระบุคุณสมบัติของวัตถุ
ข. เป็นข้อมูลที่มีความหลากหลายประเภท
ค. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล
ง. เป็นเครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ และสิ่งของอื่นๆที่มีการฝังวงจรอิเล็กทรอนิคส์ ซอฟแวร์

9. ข้อใดไม่ใช่ข้อมูลส่วนบุคคล
ก. การศึกษา
ข. รายได้ของประชากร
ค. ฐานะการเงิน
ง. ประวัติสุขภาพ

10. ข้อใดจัดเป็นซอฟแวร์จัดการฐานข้อมูล
ก. word processing software
ข. spreadsheet software
ค. database management software
ง. presentation software









วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562

 กระบวนการวิทยาการข้อมูล (data science process)

          การเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยข้อมูลนั้น นอกจากต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว ยังต้องเข้าใจกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดหาและประมวลผลข้อมูลอีกด้วย กิจกรรมที่ต้องทำหลากหลายเพื่อไม่ให้สับสนสามารถดำเนินการตามกระบวนการของวิทยาการข้อมูลที่ระบุขั้นตอนสำคัญต่างๆที่ประกอบด้วย การตั้งคำถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสื่อสารและการทำผลลัพธ์
ตอนที่1 การตั้งคำถาม = ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ
ตอนที่2 การเก็บรวบรวมข้อมูล= ต้องคำนึงว่าจะเก็บข้อมูลเรื่องอะไร จากที่ไหน
ตอนที่3 การสำรวจข้อมูล=เป็นการทำความเข้าใจรูปแบบและค่าของข้อมูล
ตอนที่4 การวิเคราะข้อมูล=เพื่ออธิบายควาหมายความ สัมพันธ์ของข้อมูล
ตอนที่5 การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ=การถ่ายทอดเป็นภาพให้คนอื่นเข้าใจว่าได้เรียนรู้อะไร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระบวนการวิทยาการข้อมูล

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

วิทยาการข้อมูล

ข้อมูลมีคุณค่าวิทยาการข้อมูล

       วิทยาการข้อมูล(data science) ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา ได้รายงานข้อมูลการประสบปัญหาการขาดแคลนผู้ที่มีทักษะการวิเคราะห์เชิงลึก และการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อให้ได้ข้อมูลผลลัพธ์ที่มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหารทั้งภาครัฐและเอกชน
ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ จำเป็นต้องอาศัยความรู้และทักษะที่มีการผสมผสานหลายศาสตร์เข้าด้วย
กันที่เรียกว่า"วิทยาการข้อมูล"ซึ่งเป็นการศึกษาถึงกระบวนการวิธีการ หรือเทคนิค ในการนำข้อมูลมหาศาลมาประมวลผล เพื่อให้ได้องค์ความรู้ เข้าใจ ปรากฏการณ์หรือตีความ ทำนายหรือพยากรณ์ค้าหารูปแบบหรือแนวโน้มจากข้อมูล และสามารถนำมาวิเคราะห์ต่อยอดเพื่อแนะนำทางเลือกที่เหมาะสม หรือใช้ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด

ข้อมูลช่วยอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พบปัญหาฝุ่นควัน
        ในบางภูมิภาคของประเทศมักพบปัญหาฝุ่นควันเป็นระยะๆซึ่งเมื่อนำเทคโนโ,ยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกัน จะทำให้เราสามารถเก็ฐข้อมูลปริมาณฝุ่นในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างต่อเนื่อง ปริมาณฝุ่นขนาด PM2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก 2.5 ไมโครเมตร มีค่าเกินมาตรฐาน ในบางช่วง เช่น ในช่วงเวลาเช้าที่มีการจราจรหนาแน่น ค่าที่วัดได้สูงเกินกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ข้อมูลช่วยเปลี่ยนมุมมองของสิ่งต่างๆต่อโลกได้
        อาจเคยได้ยินการเปรียบเทียบประเทศต่างๆ ในโลกว่า บางประเทศเป็นประเทศพัฒนาแล้วและบางประเทศเป็นประเทศกำลังพัฒนา โดยมีความเชื่อว่าประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้วน่าจะมีเศรษฐกิจพึ่งพาการผลิตที่ทันสมัยกว่า มีรายได้คุณภาพชีวิตที่ดีกว่า
        อาจค้นข้อมูลของประเทศต่างๆที่เผยแพร่ได้ไม่ยาก ถ้าจะพิจารณาเกณฑ์ทั่วไปในการแบ่งประเทศเป็นสองกลุ่ม น่าจะเป็นเกณฑ์ด้านเศรษฐกิจ และเกณฑ์ด้านคุณภานชีวิต เราสามารถนำข้อมูลของประเทศต่างๆมาวาดเป็นแผนภาพ โดยเกณฑ์ด้านเศรษฐกิจอาจแทนด้วยข้อมูลรายได้ และเกณฑ์ด้านคุณภาพชีวิตแทนด้วยข้อมูลอายุเฉลี่ย ดังรูป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ gapminder
       แผนภาพนนี้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อที่ว่าประเทศในโลกแบ่งเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจนนั้นไม่จริง กล่าวคือประเทศต่างๆ มีระดับพัฒนาที่ต่างกันจริง แต่ไม่ได้มีการกระจายที่แยกกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วออกจากประเทศกลุ่มอื่นๆอย่างชัดเจน

ข้อมูลเปลี่ยนมุมมอง
1. เกณฑ์ด้านคุณภาพชีวิตและเกณฑ์ด้านเศรษฐกิจที่ใช้ในตัวอย่างข้างต้นเพียงทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้เท่านั้น ให้เราทดลองใช้เว็บไซต์ gapminder และเลือกข้อมูลอื่นๆ แทนเกณฑ์หนึ่งหรือทั้งสองเกณฑ์ เช่น เลือกอัตราการตายของเด็ก ในการวัดคุณภาพชีวิตและพิจารณาผลลัพธ์ของการกระจายที่ได้เราจะพบช่องว่างระหว่างประเทศต่างๆหรือไม่
2. ถ้าพิจารณาความเชื่ออื่นๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ ข้อมูลก็อาจจะทำให้เรามีมุมมองต่างๆของประเทศอื่นๆเปลี่ยนไป

ข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
       ในปีค.ศ.1854(พ.ศ. 2397) ได้เกิดการระบาดของอหิวาตกโรคในบริเวณโกลเด้นสแควร์ของกรุงลอนดอน มีผู้ล่มตายเป็นจำนวนมาก











วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม ม.5/2 กลุ่มที่ 9

คนที่1 นางสาว ชญาดา โสมสุพรรณ เลขที่ 12 ชั้น ม.5/2 
ADMIN(ผู้ดูแลบล็อก)



คนที่ 2 นางสาว วิภานันท์ หล้าขัด เลขที่ 29 ชั้น 5/2
(ผู้เขียนบล็อก)


คนที่ 3 นางสาว ทัศยา ชูศูนย์ เลขที่ 28 เลขที่ 5/2
(ผู้เขียนบล็อก)


Big Data



BIG DATA


https://youtu.be/-rSMFbK98tg
ประเด็นสำคัญของวิดีโอ
1.Big Data คือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาลของบริษัททุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบที่คุณพอจะนึกออก ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่างๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data)  เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น โดยอาจจะเป็นข้อมูลที่มาจากภายในองค์กร และภายนอกที่มาจากการติดต่อกับ Supplier หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์ เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่


lot INTERNET

LOt

                                                 
ที่มา    https://youtu.be/WztuyZwq
ประเด็นสำคัญของวิดีโอ
1."อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ปัญญาประดิษฐ์(AI)




ปัญญาประดิษฐ์(AI)

                                                     ที่มาhttps://youtu.be/D2oGTnz6qJI
ประเด็นสำคัญของวิดีโอ

1.ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกกันว่า AI คือ โปรแกรมที่ถูกเขียนและพัฒนาให้มีความฉลาด มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจได้ โดยการประมวลผลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ มากไปกว่านั้นยังสามารถดัดแปลงการประมวลผล ประยุกต์ ให้เป็นไปตามสถานการณ์ต่างๆ เช่น Amazon Alexa และ Siri ดังนั้นงานประเภทใดก็ตามที่มีการทำงานเป็นรูปแบบ ก็สามารถถูกปัญญาประดิษฐ์แทนที่ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการขับรถ งานบัญชี หรือการวิเคราะห์การเงิน การลงทุน และสินเชื่อ แม้แต่งานที่ซับซ้อน ต้องใช้การคิด วิเคราะห์ ก็สามารถถูกแทนที่ได้เช่นกัน โดยสำหรับวงการเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ก็มีการนำ AI มาใช้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจการกู้ยืมเงิน ธุรกิจประกัน การเรียกเก็บหนี้ หรือการทำ Credit Scoring ซึ่งหากเรารู้จักนำเทคโนโลยี AI มาใช้ให้เป็นประโยชน์ และรู้จักปรับตัว พัฒนาความรู้ และทักษะของตนเองอยู่เสมอ ก็จะสามารถสร้างรายได้ได้มากมาย